วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

งานเดือนสิบ

งานเดือนสิบ


ความเป็นมา
ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ ของประเทศไทย โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราช ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อ ซึ่งมาจากทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเข้ามาในภายหลัง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากนรก ที่ตนต้องจองจำอยู่ เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากนรกในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 10เพื่อมายังโลกมนุษย์ โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังนรก ในวันแรม 15ค่ำ เดือน 10

ช่วงระยะเวลาในการปร ะกอบพิธีกรรม ของประเพณีสารทเดือนสิบ จะมีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ ถึงแรม 15 ค่ำเดือนสิบของทุกปีแต่สำหรับวันที่ชาวใต้มักจะนิยมทำบุญกันมากคือ วันแรม 13-15 ค่ำ ประเพณีวันสารทเดือนสิบโดยในส่วนใหญ่แล้ว จะตรงกับเดือนกันยายน

งานเดือนสิบ เป็นงานสำคัญในการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้อง ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยความเชื่อทางพุทธศาสนิกชนในเรื่องกฏแห่งกรรม ผู้ที่สร้างบาปกรรมไว้มาก เมื่อตายไปจะกลายเป็นเปรตทนทุขเวทนาชดใช้บาปกรรมนั้น เมื่อถึงวันสารท ชาวบ้าน จึงจัดสำรับคาวหวานไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เรียกกันว่าการทำบุญสารทเดือนสิบ หรือ การยกหฺมฺรับ (อ่านว่ายก-หมับ) การจัดหฺมฺรับไปทำบุญที่วัดนั้น จะประกอบไปด้วยขนม 5 อย่าง ได้แก่
  • ขนมลา เปรียบเสมือนแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม
    -
    ขนมพเปรียบเสมือเป็นยานพาหนะให้ผู้ล่วงลับได้ใช้เป็นแพข้ามสู่ภพภูมิใหม่
    -
    ขนมกง อุทิศเป็นเครื่องประดับ
    -
    ขนมดีซำ อุทิศเป็นเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย
    -
    ขนมบ้า สำหรับวิญญาณผู้ล่วงลับจะได้ใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์

การจัดหฺมรับ หรือ สำรับ นั้น มักจะใช้ภาชนะเป็นกระบุงทรงเตี้ย ๆ ใส่อาหารหวานคาวและของแห้ง และจัดขบวนแห่หฺมฺรับของตนไปที่วัดใกล้ ๆ บ้าน เพื่อที่จะถวายพระสงฆ์ ไปวางรวมกันบริเวณริมกำแพงวัดหรือทางเข้าวัด หรืออาจทำเป็นที่ตั้งสูง ๆ ไว้สำหรับให้ทานเรียกว่า “หลาเปรต” โดยจะมีผู้คนแย่งกันไปเอาขนมที่หลาเปรต เรียกว่า “ชิงเปรต” เพราะมีความเชื่อว่าการกินของที่เหลือจากเซ่นไหว้บรรพชนได้กุศล

งานเดือนสิบ ได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2466 ปีนี้เป็นปีที่ 84 โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
-
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ประกอบด้วย
-
การจัดตลาดย้อนยุค
-
การตั้งเปรต ชิ งเปรต
-
ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย
-
การแสดงแสงสีสื่อผสม การประชันหนังตุง การสาธิตและประกวดหุ่นเปรต
-
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
-
การประกวดเพลงร้องเรือ
-
กลอนสด โนรา เพลงบอก
-
การประกวดแข่งขันสาธิตหัตถกรรมพื้นบ้าน
-
การประกวดนางสาวนครศรีธรรมราช
-
การจัดแสดงวิพิธทัศนา
-
การออกร้านการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP


การตั้งเปรต เมื่อยกหมรับและนำภัตตาหารไปถึงวัดแล้ว ก็เตรียมจัดสำรับ การจัดสำรับ ในวันสารททั้ง 2 ครั้ง (แรม 1 ค่ำ เดือน 10, แรม 15 ค่ำ เดือน 10) ก็มีข้าวปลาอาหาร และขนมเดือน 10 จัดเป็น 3 ชุด คือ
ชุดที่ 1 สำหรับถวายพระ เพื่อจะได้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปไห้บุรพชนหรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ชุดที่ 2 สำหรับตั้งให้เปรตกันในวัด เป็นเปรตชั้นดี ที่สามารถเข้าวัดเข้าวาได้โดยสร้างร้าน ขึ้นสูงพอสมควรเรียกว่า "หลาเปรต" (หลา เป็นภาษาถิ่นใต้หมายถึงศาลา ดังนั้น "หลาเปรต" จึงหมายถึงศาลาที่ใช้สำหรับตั้งเปรต) แล้วนำอาหารไปไว้บนหลาเปรตนั้น ชุดที่ 3 สำหรับตั้งให้เปรตกินนอกวัด เป็นเปรตที่มีบาปหนัก เข้าวัดเข้าวาไม่ได้โดยจะเอา ไปวางไว้นอกบริเวณวัดตามกำแพงหรือโคนต้นไม้ในการตั้งเปรตทั้งในวัดและนอกวัด จะต้องกล่าวคำเชิญเปรตและอธิษฐานให้เปรตได้ หลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ถ้าไม่เชิญเปรต เปรตจะไม่กล้ากินเหมือนหนึ่งเราจัดอาหารให้แขกหรือ ญาติที่มาเยี่ยม จัดวางไว้แล้วเราไม่เชิญแขกก็ไม่กล้ากิน เมื่อเชิญเสร็จแล้วควรจะยืนดูสักระยะหนึ่ง พอให้เปรตกินเสร็จ เปรตจะได้ชื่นใจว่าเรายื่นให้ด้วยความเต็มใจ และคอยเฝ้าปรนนิบัติไม่ละทิ้ง


การชิงเปรต เมื่อจัดสำรับไปวางไว้บนหลาเปรตแล้ว บนหลาเปรตจะมีสายสิญจน์วงล้อม ไว้รอบ และต่อยาวไปจนถึงพระสงฆ์ ซึ่งนั่งอยู่ในวิหารเป็นที่ทำพิธีกรรม โดยสวดบังสุกุลอัฐิหรือ กระดาษเขียนชื่อของผู้ตาย ซึ่งบุตรหลานนำมารวมกันในพิธีต่อหน้าพระสงฆ์บุตรหลานจะ กรวดน้ำอุทิศส่วนบุญไปยังเปรตชนที่เป็นบรรพบุรุษ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว เก็บสายสินจน์ ก็มีการชิงเปรต คือแย่งของที่ตั้งให้เปรตกินนั้น เชื่อว่า การแย่งขนมเปรตที่ผ่านการทำพิธีแล้วนี้จะได้กุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวยิ่งนัก และยังเชื่อกันต่อไปว่าขนมเหล่านี้ถ้านำไปหว่าน ในสวน ในนา จะทำให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ เพิ่มผลผลิตสูง การชิงเปรตหรือแย่งของที่ตั้งให้เปรตกิน ถ้าไม่ชิงเปรตท่านว่าไม่ดี เพราะการชิงเปรตนั้นคือ การชิงกันกินของที่เปรตกินเหลือแล้ว เปรตจะสุขใจอย่างมากที่เห็นลูกหลานไม่คิดรังเกียจ กล้ากินเดนอาหารที่ท่านกินเหลือ และเปรตจะช่วยหาทางคุ้มครอง บางคนที่บุตรหลานเจ็บป่วย บนเปรตให้หายป่วย จะให้บุตรหลานได้ชิงเปรตในรอบปีนั้นก็มี บางท่านอธิบายว่า การชิงเปรต นั้นจะทำให้เปรตสนุกสนานด้วย เพราะนาน ๆ จะได้มาแย่งชิงเล่นสนุกกับลูกหลาน ดังนั้นหาก ใครไม่ร่วมชิงเปรตก็คล้ายกับว่ายังทำพิธีนี้ไม่สมบูรณ์ การชิงเปรตนี้ ชาวบ้านในชนบทยังคงปฏิบัติ กันอยู่แต่วัดที่อยู่ในตัวเมือง ส่วนใหญ่มีแต่เด็ก ๆ ที่เข้าแย่งชิงกันและมักจะรื้อค้นหาเงินที่ชาวบ้าน วางไว้ในสำรับเพื่อมอบให้เปรตไว้ใช้จ่าย ส่วนผู้ใหญ่ที่ไม่เข้าแย่งชิงนั้นอาจจะคิดว่าเป็นการแย่ง กันกิน เป็นเรื่องน่าเกลียด จึงควรที่จะศึกษาและแปลเจตนาให้ถูกต้อง มิฉะนั้นประเพณีนี้ อาจจะต้องเลิกราไปในที่สุด



วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

PHONE


โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (และมีการเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ตโฟน
โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส
โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงในปี พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลาเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน มาเป็น 4,600 ล้านคน

วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ

  • 1G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ analog ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น NMTAMPS, DataTac
  • 2G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GSMcdmaOnePDC
  • 2.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่เริ่มนำระบบ packet switching มาใช้ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GPRS
  • 2.75G ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น CDMA2000 1xRTTEDGE
  • 3G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความสามารถครบทั้งการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลรวมถึงวีดิโอ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น W-CDMATD-SCDMACDMA2000 1x-EVDO
  • 3.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้นกว่า 3G เช่น HSDPA ใน W-CDMA
  • 4G ระบบโทรศัพท์มือถือที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาและทดสอบ เชื่อกันว่าโทรศัพท์มือถือในยุคนี้จะสามารถสนับสนุน แอปพลิเคชันที่ต้องการแบนด์วิธสูงเช่น ความจริงเสมือน 3 มิติ (3D virtual reality) หรือ ระบบวิดีโอที่โต้ตอบได้ (interactive video) เป็นต้น


ระบบปฏิบัติการมือถือ



PHONE




PHONE
ทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (และมีการเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ตโฟน
โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส

วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ

  • 1G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ analog ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น NMTAMPS, DataTac
  • 2G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GSMcdmaOnePDC
  • 2.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่เริ่มนำระบบ packet switching มาใช้ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GPRS
  • 2.75G ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น CDMA2000 1xRTTEDGE
  • 3G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความสามารถครบทั้งการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลรวมถึงวีดิโอ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น W-CDMATD-SCDMACDMA2000 1x-EVDO
  • 3.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้นกว่า 3G เช่น HSDPA ใน W-CDMA
  • 4G ระบบโทรศัพท์มือถือที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาและทดสอบ เชื่อกันว่าโทรศัพท์มือถือในยุคนี้จะสามารถสนับสนุน แอปพลิเคชันที่ต้องการแบนด์วิธสูงเช่น ความจริงเสมือน 3 มิติ (3D virtual reality) หรือ ระบบวิดีโอที่โต้ตอบได้ (interactive video) เป็นต้น

ผลกระทบต่อสุขภาพ

ความเชื่อที่ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาวนั้น ปัจจุบันได้รับการยืนยันจากองค์การอนามัยโลกแล้ว โดยองค์การฯ ได้บรรจุโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้ในรายชื่อวัตถุก่อมะเร็งซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ออกรายงานเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 โดยจัดว่ารังสีโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็น "วัตถุก่อมะเร็ง" และ "อาจก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์" ได้ รายงานดังกล่าวออกมาหลังจากทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทบทวนการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยของโทรศัพท์เคลื่อนที่งานวิจัยหนึ่งว่าด้วยการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในอดีตนั้นได้ถูกอ้างอิงในรายงานซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างหนักจะมีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกในสมองมากขึ้นถึง 40% (รายงานการใช้โดยเฉลี่ย 30 นาทีต่อวัน เป็นเวลาติดต่อกันนานกว่า 10 ปี) ซึ่งรายงานดังกล่าวตรงกันข้ามกับการสรุปก่อนหน้านี้ซึ่งไม่คาดว่ามะเร็งจะเกิดขึ้นเป็นผลมาจากโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือสถานีฐาน และการทบทวนดังกล่าวไม่ได้พบหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่นแต่อย่างใด
ผผลิตโทรศัพท์มือถือ



แคนาดา
จีน
ฟินแลนด์
ฝรั่งเศส
อินเดีย
อิสราเอล
อิตาลี
ญี่ปุ่น
มาเลเซีย

เนเธอร์แลนด์
รัสเซีย
เกาหลีใต้
สวีเดน
สวิสเซอร์แลนด์
ไต้หวัน
เยอรมนี
ไทย
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
สหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา
เวเนซูเอลา